วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไขความลับ “ยิ้มโมนาลิซา” ของ “ดาวินชี”

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
"โมนาลิซา" มองมุมไหนก็ยิ้มได้แปลกๆ ทั้งเปี่ยมสุขและลึกลับ
นิวส์ไซแอนติส – กว่าหลายศตวรรษมาแล้วที่เหล่า ศิลปิน นักประวัติศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่างเดินพาเหรดไปที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อหวังไขปริศนารอยยิ้มอันลึกลับน่าฉงนของ “โมนา ลิซา” ผลงานชิ้นโบว์แดงของ “ลิโอนาโด ดาวินชี” และตอนนี้ 2 นักวิจัยทางด้านจักษุศาสตร์ก็เริ่มมองเห็นปริศนาบางอย่างจากภาพโมนาลิซา ว่าไฉนมองมุมไหนถึงยิ้มพิมพ์ใจไปเสียหมด

คริสโตเฟอร์ เทย์เลอร์ และลีโอนอยด์ คอนต์เซวิช แห่งสถาบันวิจัยทางจักษุสมิธ-แคตเทิลเวลล์ ในซานฟรานซิสโก เชื่อว่า เหตุ ที่โมนาลิซายิ้มโปรยปรายได้ขนาดนี้ก็เพราะ “นอยซ์” (noise) หรือมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นในระบบการรับรู้ทางสายตาของผู้ที่มองภาพอันลือโลก ชิ้นนี้

นักวิจัยทั้ง 2 ได้นำภาพวาดโมนาลิซาบันทึกลงคอมพิวเตอร์ แล้วสุ่มใส่นอยซ์ลงในภาพหลายๆ แบบ (นอยซ์ หรือ noise ที่หมายถึงสัญญาณรบกวน แต่ในภาพคือจุดสีเล็กที่เกิดขึ้นบนภาพ ทำให้ภาพไม่ชัด อย่างเช่นการดูโทรทัศน์ที่สัญญาณไม่ดีก็จะทำให้เห็นภาพเป็นจุดๆ นั่นคือ “นอยซ์”)

และเมื่อนักวิจัยทั้ง 2 สุ่มใส่นอยซ์ลงในภาพโมนาลิซาแล้ว ก็ให้ผู้สังเกตการณ์จำนวน 12 คนมาดูว่าหน้าตาโมนาจะเปลี๊ยนไป๋มากน้อยแค่ไหน

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อเติม "นอยซ์" ลงไปบนภาพโมนาลิซา จุดสีรบกวนเหล่านี้จึงทำให้คนดูรับความรู้สึกของโม้นาแตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ ผลการพินิจดูภาพโมนาที่มีนอยซ์มาฉาบไว้นั้น ก็เป็นไปตามความคาดหมายของคริสโตเฟอร์และลีโอนอยด์ กล่าวคือ นอยซ์ ส่วนที่อยู่ตรงมุมปากทำปากของโมนายกขึ้น จึงทำให้โมนาลิซามีใบหน้าเปื้อนยิ้มอิ่มเอมมีความสุข ส่วนนอยซ์อีกภาพหนึ่งที่อยู่บนปากของโมนากลับทำให้รูปปากแบนลง ภาพนี้เลยทำให้โมนาดูเศร้าสร้อย

อย่างไรก็ตาม จุดรบกวนหรือนอยซ์เหล่านี้ทำให้ผู้สังเกตการณ์ที่มาดูภาพโมนาลิซาที่เคยๆ เห็น เกิดการรับรู้ที่แตกต่างออกไปจากเดิมได้อย่างน่าประหลาดใจ

เทย์เลอร์ เปิดเผยว่า ระบบ การรับภาพในสมองของมนุษย์ทั่วไปนั้นจะเปลี่ยนไปตามสิ่งรบกวน และอย่างกรณีภาพโมนาลิซาฉาบนอยซ์คราวนี้ก็เช่นกัน เมื่อผู้มองมองเห็นภาพที่มีเม็ดสีเล็กๆ ไม่ชัดอยู่บนภาพ อนุภาคโฟตอนหรือหน่วยพลังงานของรังสีแสงที่จอตา (เรตินา) รับเข้ามาก็จะเป็นลักษณะแกว่งไปมา (นึกถึงตอนที่เรามองภาพเบลอๆ) จากนั้นเซลล์รับแสงที่จอตาก็จะอ่านค่าเม็ดสีที่มองเห็นผิดเพี้ยน และในที่สุดการรับรู้เม็ดสีที่ผิดเพี้ยนนี้ก็ถูกส่งต่อไปยังเส้นประสาท และสมองในที่สุด

“สิ่งรบกวนโดยธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้คนทั่วไปมองภาพโมนาแล้วเห็นว่าภาพชิ้นนี้เปลี่ยนไป มากกว่าที่จะเห็นเหมือนแต่ก่อนว่าโมนามีการแสดงสีหน้าที่น่าสงสัยลึกลับ “นอยซ์” นี่ล่ะจึงทำให้ภาพวาดชิ้นนี้มีพลังจนถึงทุกวันนี้” เทย์เลอร์ เผย พร้อมกับแถมอีกว่า ที่ ดาวินชีวาดโม้นาได้ออกมาจนลือลั่นโลกขนาดนี้ เพราะดาวินชีรู้ได้ด้วยสัญชาติญาณศิลปินของเขาแล้วว่า “นอยซ์” นี่ล่ะสามารถสร้างการรับรู้ของคนได้ต่างออกไป

ภาพ “โมนาลิซา” เป็นผลงานชิ้นเอกของลีโอนาโด ดาวินชี จิตรกรชาวอิตาเลียน (และยังเป็นนักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์) ดาวินชีวาดภาพชิ้นนี้ขึ้นในปี 1479 – 1528 โดยหญิงสาวในภาพคือ “ลา จิโอกอนดา ” (La Gioconda) ภรรยาของฟรานเซสโก เดล จิโอกอนดา เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนไม้ มีขนาด 77x53 เซนติเมตร ขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ประเทศฝรั่งเศส ในนาม “ลา โฌกงด์” (La Joconde)

โมนาลิซาในภาพเป็นภาพนั่งของผู้หญิงธรรมดาๆ ที่แต่งกายตามสมัยนิยมในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ ในอิตาลีเบื้อหลังเป็นภูเขา โดยดาวินชีได้ใช้เทคนิกภาพสีหม่น (sfumato) ให้ฉากหลังดูนุ่มเบา แต่ใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ โมนาลิซามีสีหน้าที่แสดงออกมาอย่างน่าฉงน เพราะบางมุมก็รู้สึกถึงความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ขณะที่บางมุมก็ให้ความรู้สึกแปลกแยกโดดเดี่ยว ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นภาพเหมือนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


chinese-compatibility-test
chinese-love-match
daily-chinese-monkey
read
today-sagittarius-love
today-leo-love
msn-free-daily
today-aries-love
free-monthly
chinese-signs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น